อีสานจะไม่สิ้นมนต์ขลัง หากทุกคนรวมพลังสืบสานประเพณีไว้

ตั๊กแตน

อาหารเสิมโปรตีนอีกอย่างของชาวอีสาน

เมื่อกล่าวถึงตั๊กแตน ทั่วประเทศไทยคงจะมีหลายชนิด ซึ่งผมก็ไม่สามารถจำแนกหรือรวบรวมได้หมด แต่วันนี้จะนำเสนอเฉพาะพระเอกในดวงใจของผม ที่ผมเคยจับมาทอดหรือคั่วแล้วเท่านั้น มาดูกันว่าจะมีตัวใหนบ้างและแถวๆบ้านของคุณ มันยังหลงเหลืออยู่ไหม?
ทีเด็ดต้องตัวนี้เลยครับ ตัวเล็กๆอยู่กันเป็นฝูงตามป่าหญ้าริมแม่น้ำหรือเขื่อน จับทีได้เป็นกิโล อิอิ ทอดกรอบ


ตัวนี้รู้สึกว่าจะเป็นอดีตไปแล้ว อยู่ตามป่าตีนเขาโน่นมั๊งตัวใหญ่เท่าปาตังก้าหรืออาจใหญ่กว่า ไม่เจอกันนานร่วมยี่สิบปีแล้วววววว


เจ้าตัวร้าย ดีดมือเจ็บมาก ไม่ค่อยชอบยกเว้นตัวที่มีไข่




ตัวนี้ชอบกินใบอ้อยมาก ที่ไหนมีต้นอ้อยต้องมีเจ้าตัวนี้



ตัวนี้ญาติปาตังกา แต่มันอ่อนแอกว่าปาตังก้า ถ้าจำไม่ผิดเวลาบินปีกสีเหลือง


มาดูข้อมูลดีๆบ้าง

ตั๊กแตนปาทังก้า (Patanga succincta (Linnaeus))


ชื่อวิทยาศาสตร์
Patanga succincta (Linnaeus)
รูปร่างลักษณะ
- มีขนาดใหญ่ รูปร่างเรียวยาว บินเร็ว และว่องไว
- ตัวผู้มีความยาววัดจากหัวถึงปลายปีก 6-6.5 เซนติเมตร
- ตัวเมียยาว 7.6-7.8 เซนติเมตร
- ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนสลับกับสีน้ำตาลแก่
- แก้มทั้ง 2 ข้างมีแถบสีดำพาดจากขอบตารวมด้านล่างถึงปาก
- ปีกยาวเลยปลายส่วนท้องไปประมาณ 1/5 เท่าของตัว
- ปีกคู่แรกแข็งมีแถบสีเหลืองและสีน้ำตาล ยาวไปต่อกับแถบสีเดียวกันกับแถบที่อยู่บนสันอกและหน้าผากพอดี
- ปีกคู่ที่ 2 เป็นเยื่อบางใส
- โคนปีกมีสีม่วงแดงหรือสีชมพู
วงจรชีวิต
- ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์เพียง 1 ครั้ง
- ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
- อัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมีย 1:1
- ตัวเมียวางไข่ในดิน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม (เป็นระยะฝนแรกของปี)
- วางไข่เป็นฝักลึกลงไปในดิน ที่มีลักษณะร่วนซุย ลึก 2-7 เซนติเมตร และมีความชื้นพอเหมาะ
- ฝักไข่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว 2.3-5 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 มม. ห่อหุ้มด้วยฟองน้ำสีขาว
- ตัวเมียวางไข่ได้ 1-3 ฝัก
- ไข่ 1 ฝัก มีจำนวน 96-152 ฟอง เพราะฉะนั้น ไข่ 1-3 ฝักมีจำนวนรวม 288-451 ฟอง
- อายุไข่ 35-51 วัน (เมษายน-พฤษภาคม)
- ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
- ตัวอ่อนลอกคราบ 7-8 ครั้ง
- ช่วงอายุตัวอ่อน 56-81 วัน มี 9 วัย
- เริ่มเป็นตัวแก่ประมาณเดือนกรกฎาคม
- อายุตัวเต็มวัย 8-9 เดือน (สิงหาคม-เมษายน)
- ตั๊กแตนเมื่อวางไข่แล้วก็จะตายในที่สุด
สภาพหลังการทำลายของตั๊กแตนในช่วงฤดูแล้ง
ตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส (Hieroglyphus)

ชื่อวิทยาศาสตร์
Hieroglyphus spp.
ชื่ออื่น ๆ
ตั๊กแตนข้าว Larger Rice Grasshopper
รูปร่างลักษณะ
- เป็นตั๊กแตนที่มีขนาดกลางยาว 3-5 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลแก่
- ลำตัวมีสีเขียวอ่อน
- ตัวอ่อนมีสีต่าง ๆ กัน เช่น เขียวอ่อน เหลืองอ่อน น้ำตาลแดง และดำทั้งตัว
- หน้ามีสีดำ ใต้ท้องมีสีดำตลอดตัว
- ตัวเต็มวัยมีสีเดียวคือสีเหลืองปนเขียวหรือน้ำตาลปนเหลือง
การขยายพันธุ์
1 ปี ขยายพันธุ์ 1 ครั้ง
การผสมพันธุ์และวางไข่
- ในช่วงเดือน ตุลาคม-กันยายน เป็นช่วงปลายฤดูฝน
ระยะเวลาไข่ฟัก
ไข่จะฟักตัวอยู่ในดินตลอดฤดูแล้ง อยู่ในดิน 7-5 เดือน ลักษณะไข่คล้ายเม็ดพุทรา เปลือกหุ้มไข่แข็งมีทั้งชนิดรูปกลมและรี ตัวเมียวางไข่ได้ 3-4 ฝัก (1 ฝักมีไข่จำนวน 30-60 ฟอง) ฟักออกเป็นตัวอ่อนช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ระยะตัวเต็มวัย
จะเริ่มเป็นตัวเต็มวัย ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
ชีพจักรของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส

- ระยะตัวอ่อน (เมษายน-มิถุนายน)
- ระยะตัวเต็มวัย (กรกฎาคม-กันยายน)
- ระยะผสมพันธุ์และวางไข่ (สิงหาคม-กันยายน)
- ระยะไข่ฟักตัวอยู่ในดิน (ตุลาคม-มีนาคม)

ตั๊กแตนโลกัสต้า Locusta migratoria manilensis (Meyen)


ชื่อวิทยาศาสตร์
Locusta migratoria manilensis (Meyen)
รูปร่างลักษณะ
- เป็นตั๊กแตนที่มีขนาดลำตัวปานกลาง ยาว 6-7 เซนติเมตร
- ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือเขียวปนเหลือง
- ตั๊กแตนตัวอ่อนฟักออกมาใหม่ ๆ จะมีตัวสีดำ ส่วนหัวโตกว่าลำตัว ลอกคราบ 5-6 ครั้ง ลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลา 5-7 วัน
การขยายพันธุ์
ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 3-4 ครั้ง
การผสมพันธุ์และวางไข่
ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน กรกฎาคม-พฤศจิกายน และธันวาคม
ระยะเวลาไข่ฟัก
ไข่จะอยู่ในดินประมาณ 14-18 วัน และจะฟักออกเป็นตัวอ่อนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พฤษภาคม-มิถุนายน สิงหาคม-ตุลาคม และธันวาคม-กุมภาพันธ์
ระยะตัวเต็มวัย
หลังจากลอกคราบ 5-6 ครั้ง จะเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยจะมีอายุ 32-97 วัน มี 7 วัย
การแพร่กระจาย
- พบตั๊กแตนตัวอ่อนในช่วงฤดูฝนโดยพบในพื้นที่ปลูกอ้อย ข้าวโพด ข้าวและข้าวฟ่าง
- ตั๊กแตนจะเคลื่อนย้ายในช่วงเช้าและบ่ายจากแหล่งพักอาศัยไปยังแหล่งอาหาร โดยเคลื่อนย้ายไปเป็นกลุ่ม โดยการกระโดดหรือเดินไปในทิศทางเดียวกัน

ตั๊กแตนไซตาแคนตาคริส Cyrtacanthacris tatarica (Linnaeus)

ชื่อวิทยาศาสตร์
Cyrtacanthacris tatarica (Linnaeus)
ชื่ออื่น ๆ
ตั๊กแตนฝ้าย
รูปร่างลักษณะ
- ขนาดค่อนข้างใหญ่
- ลำตัวอ้วนสั้น
- สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อนสลับน้ำตาลแก่
- ปีกคู่หน้ามีจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป
- ขาคู่ที่ 3 สีเหลือง-น้ำตาลมีหนามแหลมใหญ่ ลักษณะคล้ายตั๊กแตนปาทังก้ามาก
- ที่แตกต่างกันคือบริเวณโคนปีกคู่ที่ 2 (ปีกใน) ของตั๊กแตนไซตาแคนตาคริส เป็นสีเหลืองอ่อนและปีกสั้นกว่า
- บนกึ่งกลางด้านหลังของส่วนแรกเป็นสันสูงขึ้นมามากกว่าตั๊กแตนปาทังก้า
วงจรชีวิต
- ใน 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 3-4 ครั้ง
- ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม
- เริ่มวางไข่ในช่วงมกราคม เมษายน กรกฎาคม ตุลาคม
- ชอบวางไข่ในดินที่มีความชื้นพอเหมาะ
- ไข่ทั้งหมดอยู่ในฝักซึ่งเป็นสารหยุ่น ๆ คล้ายฟองน้ำ
- ไข่มีลักษณะยาวรี ประมาณ 7 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 มม
- ไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
- ช่วงอายุของไข่ 35-87 วัน
- ไข่เริ่มฟักเป็นตัวอ่อนในช่วง เมษายน-พฤษภาคม, สิงหาคม-ตุลาคม
- ช่วงอายุตัวอ่อน 94-124 วัน
- มีการลอกคราบ 7-8 ครั้ง จึงกลายเป็นตัวเต็มวัย
- ตัวอ่อนมี 9 วัย
- อายุของตัวเต็มวัย 2-3 เดือน

ตั๊กแตนคอนดราคริส Chondracris rosea (Degeer)

ชื่อวิทยาศาสตร์
Chondracris rosea (Degeer)
รูปร่างลักษณะ
- เป็นตั๊กแตนที่มีขนาดใหญ่
- ลำตัวยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
- ลำตัวและปีกสีเขียวอ่อนปนเหลืองหรือสีเขียว
- บริเวณแก้มทั้ง 2 ข้าง มีแถบสีดำคาดจากขอบตาไปถึงปาก
- ตรงคอด้านบนเป็นสันคมมีสีเหลืองปนจุดสีเขียวทึบมีผิวขรุขระ
- ขาคู่ที่ 3 ท่อนที่มีหนามเป็นสีม่วงแดง
- ฐานปีกคู่ที่ 2 ลักษณะบางใสเป็นสีแดง
วงจรชีวิต
- ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 1 ครั้ง
- อายุไข่ 3-5 เดือน
- ลอกคราบ 6-7 ครั้ง
- อายุตัวอ่อน 95-129 วัน
- ระยะเวลาผสมพันธุ์ กันยายน-ตุลาคม
- ระยะเวลาวางไข่ ตุลาคม-ธันวาคม
- ระยะเวลาไข่ฟักออกเป็นตัว เมษายน-พฤษภาคม

อ้างอิงจาก
http://agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/other/patanga/menu1.htm

0 ความคิดเห็น: