อีสานจะไม่สิ้นมนต์ขลัง หากทุกคนรวมพลังสืบสานประเพณีไว้

เรียนภาษาลาว


เรียนภาษาลาว
พยัญชนะลาว บางตัวที่บอกว่า พยัญชนะลาว มี 26 ตัว บวกกับอีก 1 ตัวนั้นคือ ในภาษาลาวจะไม่มี เสียงผันลิ้น เป็นตัว ร.อย่าง รถ ก็จะเขียน(และอ่าน) ว่า ลด บางคำที่คำไทยเขียน ร.เรือเช่น เรือน เรือ เขาก็จะใช้ ตัว ฮ.เฮือน (ตัวที่ 26 ที่อักษรเหมือน ร.เรือ) อ่านเป็น เฮือน หรือ เฮือ ไปเลย เมื่อก่อนนี้ ภาษาลาวก็มีตัวพยัญชนะ ร. ไว้เหมือนกัน แต่จุดประสงค์ใหญ่ก็เอาไว้แทนตัว R ในภาษาอังกฤษ หรือ เอาไว้ใช้สะกดชื่อคนไทย - ภาษาไทยเป็นหลัก เท่าที่ทราบภาษาลาวมีใช้ตัว ร.แค่คำว่า ราชา ราชินี เท่านั้น

ต่อมา เมื่อกองทัพลาวปลดแอกเข้ายึดลาว เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมได้สั่งเลิกใช้ตัวพยัญชนะ ร. อย่างเด็ดขาด จะด้วยเหตุผลว่าไม่มีคำลาวที่สะกดอย่างนี้หรือ มันไปรับใช้พวกจักรวรรดินิยม ฝรั่ง ไทย อะไรหรือเปล่า ก็ไม่รู้เหมือนกัน กระทั่ง ปี 1997 ได้มีการปฏิรูปภาษาลาวครั้งใหญ่โดยให้นำตัว ร. กลับมาใช้ใหม่และได้สะสางเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ สระ ให้มีมาตรฐานคล้าย ๆ ภาษาไทย คือแต่ก่อนนี้สระลาวเต็มไปด้วยสระลดรูป สระเปลี่ยนรูป ไปตามพยัญชนะที่สะกดแบบเฉพาะคำเยอะมาก ก็ปรับเปลี่ยนมาให้ใช้แบบของไทย ตัวอย่าง เช่น เมื่อก่อน สระเอีย เช่นคำว่า เวียง จะเขียนเป็น ว. + สระลดรูป (ตัวคล้าย ๆ ร.เรือ แต่หางยาว) + ง.(แต่ก็ยังเขียนกันทั้ง 2 แบบอยู่) มีเสียงนินทา เหมือนกันว่า เปลี่ยนวิธีการใช้สระเพื่อให้คนไทยอ่านเข้าใจง่ายขึ้น มีพยัญชนะลาวอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัว ย. เหมือนกันเพียงแต่มีหางไม่เท่ากัน
ตัวแรกคือ ตัว ย.ยุง
อัน นี้ เสียงจะออกเป็น ย.แบบเดียวกับภาษาอีสาน ซึ่งครูภาษาไทย(บางคน)ที่ชอบอ้างว่า ภาษาไทย ออกเสียงได้ครบ ครอบคลุมหมดทุกเสียง จะไม่มีทางออกเสียง ย.ตัวนี้ได้เลย (ยกเว้นเป็นคนอีสาน)

อีกตัวคือ ย.ยาหรือบางทีก็เรียกกันว่า ย.หางยาว ย. ตัวนี้ ออกเสียงแบบเดียวกับ ย.ยักษ์ ของไทย ใช้เฉพาะกับคำที่เขียนว่า ยา และ ยาง เท่านั้นครับ ตัว ย.หางยาว นี้ นอกจากใช้เขียนคำว่า ยา และ ยาง แล้วยังเอาไว้ใช้ กับตัว อ.นำ ย. เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือ ห. นำ ย. เช่น หยาด หยาม ดังเช่นคำที่ยกมาในรูปก็คือคำว่า อยู่ กับ หยาด นั่นเอง

สุดท้าย คือ สระลาว ครับ

ผมไม่ได้เอามาครบ เพราะก็เขียนแบบเดียวกับสระไทย นะแหละ



ยกเอามาให้ดู เฉพาะตัวที่อาจไม่เข้าใจ ว่าคือ สระอะไรเท่านั้น ในภาษาลาว มีสระปราบเซียน อยู่ตัวหนึ่งที่ทำให้คนไทยเราเป็นงงมากรูปร่างคล้าย ๆ ไม้หันอากาศกลับหัว บางทีก็มองคล้าย ๆ สระ อิ ไทย จริง ๆ เจ้าตัวนี้ เป็น สระโอะ ลดรูป ยกตัวอย่างคำที่กำกับสระโอะ ในภาษาไทย จะลดรูปสระ ออกไปเลย เช่น คน ดง นม ลด ฯลฯ แต่ภาษาลาว จะลดรูปสระโอะ ลงมาแล้วใช้เจ้าตัวนี้กำกับแทนครับเช่นตัวอย่างที่ผมอ้างไว้ในรูปคำที่เขียน อ่านเป็นคำไทย เหมือนจะอ่านว่า "ถิม" นั้นจริง ๆ คือ คำว่า คน ครับ(ค. + สระโอะลดรูป + น.)


0 ความคิดเห็น: