อีสานจะไม่สิ้นมนต์ขลัง หากทุกคนรวมพลังสืบสานประเพณีไว้

ไร่ปอ

พืชเศรษฐกิจอีสานในอดีต

เนื่องจากย้อนไปเมื่อประมาณยี่สิบปี จะเห็นได้ว่าปอเป็นพืชเศรษฐกิจที่ชาวอีสานนิยมปลูก โดยเฉพาะในหม่บ้านของผม แต่ก็นานนับสิบห้าปีแล้วที่ผมไม่เคยเห็นไร่ปอหรือต้นปออีกเลย ผมก็เลยคิดว่ามันเป็นอดีตไปแล้ว เรามาทำความรูจักกับอดีตให้ลึกซึ้งดีกว่าครับ

ปอ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ปอแก้วไทย (Thai Kenaf or roselle) หรือที่เรียกว่า "ปอแก้ว" ในปัจจุบัน และปอคิวบา (Cuban Kenaf) ปอแก้วและปอคิวบาเป็นพืชในวงศ์มัลวาซีอี (Malvaceae) เช่นเดียวกับฝ้าย และอยู่ในสกุลเดียวกันคือ ไฮบิสคุส (Hibiscus) แต่ต่างชนิดกัน
๑. ปอแก้ว ปอแก้วเป็นปอพื้นเมืองซึ่งปลูกกระจัดกระจายในแอฟริกาและอินเดีย มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันตกของประเทศซูดานเป็นพืชให้เส้นใยที่ได้จากเปลือกของ ลำต้น รู้จักกันดีในอียิปต์และอินเดียมาหลายศตวรรษแล้วต่อมาปลูกกันแพร่หลายในทวีป เอเชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ดร.วิลเลียม ล็อกซ์เบิร์ก (Dr.William Loxberg) ได้นำมาทดลองปลูกตามบริเวณฝั่งทะเลโคโรแมนเดลของอินเดีย และที่สวนพฤกษชาติ ของกัลกัตตาเชื่อว่าแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยจากปอแก้วได้เกิด ขึ้นในอินเดียเป็นแห่งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ พีเจ เวบสเตอร์ (P.J. Webster) ได้ค้นคว้าพบว่า ปอแก้วที่ปลูกกันมากทางโกลด์โคสต์ (Gold coast) ของแอฟริกาตะวันตกมีลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาน้อยมาก จึงตั้งชื่อย่อยว่า แอลติสซิมา (Var. altissima) ซึ่งได้ปลูกแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทย เพื่อใช้ผลิตกระสอบบรรจุธัญพืชและน้ำตาลทราย

ปอแก้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าไฮบิสคุ ส ซับดาริฟฟา (Hibiscus sabdariffa) มีชื่อพื้นเมืองเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่ปลูก เช่น โรแซลล์ (roselle) ปูซาเฮมพ์ (pusa hemp) และชันนี (channi) เป็นต้น ปอแก้วมี ๒ ชนิด คือ ชนิดที่ใช้กลีบรองดอกเป็นอาหารที่เรียกว่า กระเจี๊ยบและชนิดที่ใช้เปลือกทำเส้นใย
๒. ปอคิวบา ปอคิวบามีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาแถบแองโกรา ซึ่งภูมิประเทศมีลักษณะร้อนชื้นอยู่ระหว่างเส้นละติจูด ๔๐? - ๔๘? เหนือแล้วต่อมาจึงกระจัดกระจายออกไปแถบรัสเซียและแมนจูเรีย จนถึงเส้นละติจูด ๓๐?ใต้


การนำพันธุ์เข้ามาปลูกในประเทศไทย
โดย เฉพาะอย่างยิ่งปอแก้วนั้น ค้นคว้าหลักฐานไม่พบ เท่าที่ทราบครั้งแรกเรียกกันว่า ปอแก้วจีนสันนิษฐานว่า คงมีผู้นำมาจากประเทศจีนหรือไต้หวันเป็นครั้งแรก แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นปอแก้วไทยและเป็นปอแก้วในปัจจุบัน ส่วนการนำพันธุ์ปอแก้วมาทดลองปลูกเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรีย์ จันทรสถิตย์) นำมาปลูกทดสอบพันธุ์ที่โรงเรียนเกษตรกรรมโนนวัด (เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีทดลองพืชไร่โนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันได้ยุบสถานีไปแล้ว) ซึ่งขณะนั้นสังกัดอยู่ในกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ประเทศไทยได้เริ่มปลูกปอแก้วกันเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมี เนื้อที่ปลูกประมาณ ๓๑,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผลประมาณ ๔,๗๐๐ ตัน
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นายเริ่ม บูรณฤกษ์ รองอธิบดีกรมกสิกรรม ได้นำเมล็ดพันธุ์ปอคิวบาจำนวน ๑๐๘ สายพันธุ์จากสหรัฐอเมริกา เข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย มอบหมายให้กองการค้นคว้าและทดลอง (ปัจจุบันเป็นสถาบันวิจัยพืชไร่) กรมกสิกรรม ทำหน้าที่ค้นคว้าทดลองเพื่อหาพันธุ์ดีใช้ในการส่งเสริม
ปอคิวบามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไฮบิสคุสคานาบินุส ลินเนียส (Hibiscus Canabinus Linnaeus) มีชื่อพื้นเมืองเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่ปลูก เช่น เคนัฟ (kenal) เดคคานเฮมพ์ (deccanhemp) บิมลิพาตัม (bimlipatam) และเมสตา (mesta) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปอแก้วและปอคิวบา
ปอแก้วและปอคิวบามีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่แตกต่างกันตรงที่รูปร่างหรือขนาดเท่านั้นส่วนอื่น ๆ มีลักษณะใกล้เคียงกันมากดังนี้
๑. ระบบราก มีรากแก้วหยั่งลงไปในดินลึกประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร
๒. ลำต้น สูงเรียวตั้งตรง ๓-๔ เมตร ไม่แตกกิ่ง มีสีเขียว สีม่วงแดง มีสีเขียวปนแดง มีทั้งผิวเรียบหรือมีหนาม
๓. ใบ เกิดสลับกันบนลำต้น สำหรับปอแก้วเป็นใบชนิดใบประกอบ (palmately compound) ใบหนึ่ง ๆ มีลักษณะแยกเป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ ส่วนปอคิวบาเป็นใบชนิดใบเดี่ยว และใบประกอบ อาจจะพบทั้งสองชนิดบนต้นเดียวกัน ขอบใบของปอแก้วและปอคิวบามีหยักคล้ายฟันเลื่อย
๔. ดอก เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก ๕ อัน สีเหลืองที่ฐานดอกมีสีม่วงและออกดอกในช่วงวันสั้น เป็นพืชผสมตัวเอง
๕. ฝัก มีลักษณะกลม ปอคิวบาจะมีขนมาก มีเมล็ด ๒๐-๕๐ เมล็ดต่อฝัก
๖. คุณภาพเส้นใย ปอคิวบาจะให้คุณภาพเส้นใยดีกว่าปอแก้ว ปอทั้งสองชนิดนี้ ในต้นหนึ่ง ๆ จะให้ปริมาณเส้นใย ประมาณร้อยละ ๔-๖
๗. สภาพพื้นที่ ปอ คิวบามีความทนต่อความแห้งแล้งได้น้อยกว่าปอแก้ว แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพน้ำขัง และทนต่อการระบาดของโรคและแมลงได้น้อยกว่าปอแก้ว
๘. อายุการเก็บเกี่ยว เมื่อปอออกดอกประมาณร้อยละ ๕๐ ของลำต้น (๑๕๐-๑๖๐ วัน)

http://guru.sanook.com

1 ความคิดเห็น: